อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “ทรงตัว”ที่ระดับ 33.62 บาท/ดอลลาร์

0 Comments

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ยังคงมีแนวโน้มผันผวนในระหว่างวัน -แรงกดดันด้านอ่อนค่ายังคงเป็นการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ เหตุตลาดเชื่อว่าเฟดอาจดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็ว และปัญหาระบาดของโอมิครอนในประเทศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.62 บาทต่อดอลลาร์ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า เงินบาทยังคงมีแนวโน้มผันผวนในระหว่างวัน โดยแรงกดดันด้านอ่อนค่ายังคงเป็นการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เชื่อว่าเฟดอาจดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็ว และปัญหาการระบาดของโอมิครอนในประเทศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

อย่างไรก็ดี เรามองว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมากนัก เนื่องจาก นักลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ต่างชาติยังไม่ได้ส่งสัญญาณว่ามีความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดมาก ดังจะเห็นได้จากการที่นักลงทุนต่างชาติยังคงเดินหน้าซื้อสินทรัพย์ไทยสุทธิอย่างต่อเนื่อง

 

และที่น่าสนใจคือ นักลงทุนต่างชาติได้ซื้อบอนด์ระยะสั้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งอาจสะท้อนภาพการเก็งกำไรเงินบาทฝั่งแข็งค่า โดยอาจมองได้ว่า นักลงทุนต่างชาติได้รอจังหวะให้เงินบาทอ่อนค่าลง เพื่อรอเข้าเก็งกำไรเงินบาทฝั่งแข็งค่า

 

อนึ่ง ผู้ส่งออกเริ่มมีการขยับออเดอร์และทำให้โซนแนวต้านขยับมาอยู่ที่โซนใกล้ระดับ 33.75 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนแนวรับสำคัญ ยังอยู่ในช่วง 33.30-33.50 บาทต่อดอลลาร์

 

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.50-33.70 บาท/ดอลลาร์

ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนักจากความกังวลแนวโน้มเฟดอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็วขึ้นกว่าคาด ซึ่งล่าสุดเริ่มมีนักวิเคราะห์ของทาง Goldman Sachs มองว่า เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยได้ถึง 4 ครั้งในปีนี้

 

และอาจเริ่มลดงบดุลได้เร็วกว่าที่ตลาดประเมินไว้ ทั้งนี้ แม้ว่าความกังวลแนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น จะกดดันให้สินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะหุ้นสไตล์ Growth หรือ หุ้นกลุ่มเทคฯ ปรับฐานหนัก ทว่ายังมีผู้เล่นบางส่วนรอซื้อสินทรัพย์ดังกล่าวตอนย่อตัว (Buy on Dip) หนุนให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq สามารถปิดตลาด +0.05% (จากที่ลงลึกมากกว่า -2% ในระหว่างวัน) ส่วนดัชนี S&P 500 ย่อตัวลง -0.14%

 

ทั้งนี้ เราคงมองว่า ในระยะสั้น ตลาดการเงินยังอยู่ในภาวะผันผวนสูงและมีโอกาสย่อตัวลงต่อได้ หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง เงินเฟ้อทั่วไป รวมถึง ถ้อยแถลงของประธานเฟดและบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้สนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของเฟดได้เร็ว ซึ่งในภาวะดังกล่าวอาจช่วยหนุนให้ หุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่มการเงิน, กลุ่มพลังงาน หรือ หุ้นสไตล์ Value สามารถปรับตัวขึ้นได้ดีกว่า หุ้นในกลุ่มเทคฯ หรือ หุ้นสไตล์ Growth

 

ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ย่อตัวลงกว่า -1.54% ตาม sentiment ของตลาดโลกที่ยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงนอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังถูกกดดันจากปรับตัวลงหนักของหุ้นกลุ่มเทคฯ ซึ่งอ่อนไหวต่อแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ Adyen -8.4%, ASML -6.4%, Infineon Tech. -4.0% ทั้งนี้ เราคงมองว่า จังหวะการปรับฐานของหุ้นยุโรปอาจเปิดโอกาสในการเข้าสะสม หรือ Buy on Dip

 

เนื่องจากหุ้นยุโรปยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม Cyclical หรือ หุ้นในธีม Reopening เนื่องจากภาพเศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวได้ดี หากสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนเริ่มสงบลง อีกทั้ง นโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ยังมีความผ่อนคลายมากกว่าเฟด

 

ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เริ่มคาดว่า เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยและปรับลดงบดุลได้เร็วกว่าคาด ได้ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ เดินหน้าปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1.80% ก่อนที่จะย่อตัวลงเล็กน้อยจากภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดสู่ระดับ 1.77% นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังได้ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี ทั่วโลก ต่างปรับตัวขึ้นเช่นกัน

 

ทั้งนี้ เรามองว่า ปัจจัยที่จะหนุนให้บอนด์ยีลด์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวปรับตัวขึ้นต่อได้จะเป็นประเด็นการปรับลดงบดุลของเฟด ว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในช่วงไหนและแผนการลดงบดุลเป็นอย่างไร (เฟดจะลดงบดุลโดยการปล่อยให้ตราสารครบกำหนดแบบในอดีต หรือ เฟดเลือกที่จะขายตราสารที่ถือครองอยู่) ซึ่งต้องติดตามความชัดเจนของประเด็นดังกล่าวผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในสัปดาห์นี้

 

ในฝั่งตลาดค่าเงิน แนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเร็วขึ้น และสภาวะตลาดที่ยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยง ได้หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นมาใกล้ระดับ 96 จุด อย่างไรก็ดี ราคาทองคำยังสามารถรีบาวด์ขึ้นมาแตะระดับ 1,804 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากที่ราคาทองคำย่อตัวต่อเนื่องสู่แนวรับสำคัญ จากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา

 

อย่างไรก็ดี เรามองว่า โอกาสที่ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นไปมากนัก คงเป็นไปได้ยาก เพราะเฟดมีแนวโน้มเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ราคาทองคำมีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ ซึ่งผู้เล่นอาจต้องรอจังหวะการย่อตัว เพื่อเข้าซื้อรอการรีบาวด์

 

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดและที่สำคัญตลาดจะจับตาการแถลงต่อคณะกรรมาธิการ Senate Banking ในกระบวนการสรรหาประธานและรองประธานเฟด (Confirmation Hearing) ของว่าที่ประธานเฟดสมัยที่ 2 Jerome Powell และ ว่าที่รองประธานเฟด Lael Brainard ว่าทั้งสองท่านจะมีมุมมองต่อภาวะตลาดแรงงานและเงินเฟ้ออย่างไร

 

รวมถึงมุมมองต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเฟดในอนาคตเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ ทั้งนี้ เรามองว่า ทั้งสองท่าน รวมถึงเจ้าหน้าที่เฟดบางส่วน อาจรอประเมินผลกระทบของการระบาดของโอมิครอนต่อการเติบโตเศรษฐกิจ ทำให้ทั้งมีความเป็นไปได้ว่าทั้ง Jerome Powell และ Lael Brainard อาจไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าเฟดอาจจะเร่งใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทว่า มุมมองของว่าที่ประธานเฟดและว่าที่รองประธานที่อาจเชื่อมั่นต่อแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ หรือ มุมมองที่ระมัดระวังต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ จะทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อว่า เฟดอาจเริ่มขึ้นดอกเบี้ยได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้

 

ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบประมาณ 33.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับปิดตลาดวันทำการก่อนหน้าที่ 33.63 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค

 

ขณะที่แรงหนุนเงินดอลลาร์ฯ ชะลอลงบางส่วน หลังจากที่แข็งค่าตามทิศทางบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ เมื่อวานนนี้ โดยในวันนี้ตลารอติดตามสัญญาณนโยบายการเงินจากถ้อยแถลงของประธานเฟด ซึ่งคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐฯ จะมีการประชุมเพื่อรับรองการเข้านั่งเป็นประธานเฟดสมัยสองของนายเจอโรม พาวเวล

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 33.40-33.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ สถานการณ์โควิด-19 นอกจากนี้จุดสนใจของตลาดวันพรุ่งนี้จะอยู่ที่ข้อมูล CPI ที่จะสะท้อนแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ